โรค Text Neck Syndrome

Text Neck Syndrome หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ กลายเป็นหนึ่งในโรคที่คนเป็นกันจำนวนมากเนื่องจากความนิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือจนเกิดคำนิยามว่า “สังคมก้มหน้า” จนกลายมาเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ และเป็นที่มาของชื่อ Text Neck Syndrome

สาเหตุหลัก

Text Neck Syndrome หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักที่เกิดจากความดันภายในข้อกระดูก ที่เกิดจากการก้มหน้าเป็นเวลานานเนื่องจากการก้มหน้าลงทุกๆ 15 องศา จะทำให้คอและหลังต้องรับน้ำหนักมากขึ้นสูงสุดถึง 25 กิโลกรัม และเพราะน้ำหนักที่เกิดขึ้นจากการกดทับนี้เองที่ส่งผลให้เกิดการปูด แตก และการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกจนไปกดทับเส้นประสาทส่วนคอ

ความรุนแรงของโรค

สามารถแบ่งออกเป็นได้หลากหลายระดับ ตั้งแต่อาการปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มีการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก และหัวไหล่ ไปจนถึงอาการที่สามารถสร้างปัญหารุนแรง เช่น อาการชา หรืออ่อนแรงของแขนและมือ ที่อาจะเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูก หรือหมอนรองกระดูกคอ ซึ่งก่อให้เกิดการกดทับของไขสันหลัง หรือรากประสาทบริเวณคอ

ความเสี่ยงของโรค

เกิดการใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานมากเกินกว่าวันละ 10 ชั่วโมง รวมไปถึงการนั่งก้มหน้าติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวันสามารถก่อให้เกิดโรคนั้น เป็นเพราะขณะที่เราใช้งานโทรศัพท์มือถือ และการนั่งก้มหน้า ร่างกายจะอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม

อาการของโรค

ได้แก่อาการปวดเรื้อรังบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หรือสะบัก ในรายที่เป็นมากนั้น อาจจะมีอาการชา ปวดร้าวจากคอไปยังมือ หรือมีอาการอ่อนแรงของแขนและมือได้ โดยอาการผิดปกติดังกล่าวนั้น อาจจะดีขึ้นชั่วคราวหลังจากผู้ป่วยรับประทานยา หรือทำกายภาพบำบัด แต่อาการจะกลับมาเป็นใหม่เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือในลักษณะเดิม ๆ อีก

วิธีการป้องกัน

การป้องกัน Text Neck Syndrome นั้นสามารถทำได้โดยการปรับลักษณะนิสัยในการใช้สมาร์ตโฟน ไม่ว่าจะเป็นท่าทางในการใช้งาน หรือระยะเวลาที่ใช้งาน โดยเราควรให้ท่าทางของคออยู่ในแนวตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ก้มหลัง ไม่ห่อไหล่ ในขณะที่ใช้งานสมาร์ตโฟน และควรมีการพักเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ หากใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

การรักษาอาการของ Text Neck Syndrome  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1)การรักษาอาการโดยการกายภาพบำบัด เช่น การคลายกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ การสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และการปรับท่าทางของร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม
2)การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ปวดคอ และคลายกล้ามเนื้อก็สามารถช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน
3)สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนถึงมีการเสื่อมของกระดูก หรือหมอนรองกระดูกคอ ร่วมกับการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท อาจจะต้องพิจารณาถึงการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์

แหล่งที่มา :
ประชาชื่น MRI : https://www.mrithailand.com/2019/08/08/มาทำความรู้จักกับ-text-neck-syndrome-กั-2/
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ : https://www.s-spinehospital.com/main/ยิ่งก้ม-ยิ่งเสี่ยง-textnecksyndrome/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *