โรคปวดหลัง หรือ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดตามตัว รวมถึงการปวดหลังเรื้อรังตามมา

สาเหตุ:

อิริยาบถในการนั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง นั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ไม่ขยับไปไหน

สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับ เป็นต้น

ความเครียดจากการทำงาน งานหนักเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ด้วย

อาการ :

กล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขนหรือข้อมือ  มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย

มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชารวมถึงอ่อนแรงบริเวณมือและแขน หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปจะมีอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นร่วมด้วย

การรักษา :

1)รักษาด้วยยาลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
2)รักษาทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการรักษาด้วยยา
3)ประคบความร้อน หรือเย็นบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด
4)การบริหารคออย่างถูกวิธี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
5)การรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดความร้อนลึก เช่น Ultrasound

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม  :

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

1)การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
2)ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
3)ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน
4)เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

กฎเหล็ก 7 ข้อ วิธีนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ไม่ให้ปวดหลัง

การนั่งหลังขดหลังแข็งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง ต้องก้มศีรษะลงขณะใช้งานใช้คีย์บอร์ดและเมาส์

แพทย์จึงแนะ 7 วิธีที่ควรปฏิบัติในการทำงานแก้อาการปวดหลัง เริ่มจาก

1)การเลือกขนาดของโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ
2)ไม่ควรใช้เก้าอี้สปริงที่เอนได้ เพราะไม่มีการรองรับหลังเท่าที่ควร ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับและมีหมอน หนุนหลัง
3)คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือกึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ด ควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ จะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาพิมพ์
4)ใช้เมาส์ ควรเป็นแทรกกิ้งบอล หรือไร้สาย ที่นำมาใกล้ตัวได้ ใช้ถนัดไม่ต้องยื่นแขน
5)ไม่ควรนั่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ ควรพักทุก 45 นาทีเพื่อพักผ่อนอิริยาบถและควรนั่งให้ตรงกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะได้ไม่ต้องบิดตัวไปมา
6)ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น
7)ควรบริหารร่างกายอยู่สม่ำเสมอ ท่าง่ายๆ นอกจากเดินไปมาคือการบีบคอ ยืดกล้ามเนื้อคอ เอียงไปซ้ายและขวา ก้มหน้าเงยหน้า โดยแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที ต่อมาเป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังโดยการก้มตัว หน้าอกประชิดหัวเข่า การยืดและคลายกล้ามเนื้อควรทำช้าๆ และค้างไว้ 10 วินาทีเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดตัว ถ้าก้มแรงๆ หรือกระแทกแรงๆ จะทำกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้

แหล่งที่มา :
โรงพยาบาลสุขุมวิท : https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3495
คลินิก wellnex : https://wellnexthailand.com/office-syndrome/
โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล : https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/health-tips/do-not-overlook-back-pain

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *