เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s Tenosynovitis)

เอ็นข้อมืออักเสบ
(De Quervain’s Tenosynovitis)

โรคที่เกิดจากการบวมและอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณเอ็นข้อมือใกล้กับบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเวลาที่ขยับข้อมือ กำมือ หรือหยิบจับสิ่งของ บางครั้งอาจปวดร้าวไปที่แขนได้

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของอาการเอ็นข้อมืออักเสบอย่างแน่ชัด แต่การใช้ข้อมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้แรงขยับข้อมือมากอาจทำให้อาการเจ็บปวดรุนแรงขึ้นได้ เช่น การทำสวน การเล่นกีฬาบางประเภท อย่างกอล์ฟหรือเทนนิส การอุ้มทารก การยกของหนัก เป็นต้น

อาการเอ็นข้อมืออักเสบ

การอักเสบบริเวณเอ็นข้อมืออาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

1.รู้สึกเจ็บปวดบริเวณใกล้โคนนิ้วหัวแม่มือ โดยอาการเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
2.มีการอักเสบของเอ็น ทำให้บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือบวม
3.รู้สึกตึง ติดขัด ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือได้ลำบาก

หากปล่อยอาการทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาการเจ็บปวดอาจลามไปภายในนิ้วหัวแม่มือหรือบริเวณปลายแขน ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อต้องหยิบจับสิ่งของหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยยังคงรู้สึกเจ็บปวด อาการดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังการดูแลตนเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

สาเหตุของเอ็นข้อมืออักเสบ

การใช้แรงข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาและบวมขึ้น ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเมื่อเกิดการเสียดสีของปลอกเยื่อหุ้มเอ็นและเอ็น ขยับข้อมือทำได้จำกัด และเกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อมือ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เอ็นข้อมือเกิดการอักเสบ ได้แก่

1.ผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเอ็นข้อมืออักเสบมากกว่าคนในช่วงอายุอื่น และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

2.การได้รับบาดเจ็บโดยตรงที่บริเวณข้อมือหรือเอ็นทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณเนื้อเยื่อ ซึ่งทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนไหวได้ยากกว่าปกติ

3.อาชีพหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงข้อมือเป็นประจำ เช่น นักจัดสวน นักกีฬากอล์ฟ เทนนิสหรือแบดมินตัน ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เป็นต้น

4.ภาวะตั้งครรภ์หรือผู้ที่ต้องเลี้ยงดูเด็ก การอุ้มเด็กเป็นระยะเวลานานหรือซ้ำ ๆ ทำให้ต้องใช้แรงบริเวณนิ้วหัวแม่มือและข้อมือมาก จึงอาจทำให้การอักเสบบริเวณเอ็นข้อมือได้

5.ภาวะข้ออักเสบต่าง ๆ อย่างโรครูมาตอยด์

การรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ

จุดมุ่งหมายของการรักษาเอ็นข้อมืออักเสบคือการลดอาการปวดและอักเสบ ทำให้เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือได้ตามปกติ และป้องกันการเกิดอาการอักเสบของเอ็นข้อมือซ้ำในภายหลัง หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเร็ว อาการมักดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่คาดว่าอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ อาการอาจหายดีในช่วงใกล้คลอดหรือช่วงหลังให้นมบุตร

การดูแลตนเองเบื้องต้น

ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบซ้ำอีกในภายหลัง เช่น 

1.ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด
2.หลีกเลี่ยงการขยับข้อมือในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ
3.สังเกตและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ชา หรือบวมที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือและข้อมือ
ออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

การรักษาด้วยการใช้ยา

เพื่อระงับอาการเจ็บปวด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่บริเวณปลอกหุ้มเอ็นข้อมือเพื่อลดอาการปวดบวม โดยการฉีดยาสเตียรอยด์ภายใน 6 เดือนหลังเริ่มมีอาการ ผู้ป่วยมักมีโอกาสหายดีโดยไม่จำเป็นต้องฉีดยาซ้ำหรือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่น การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด

การรักษาด้วยการใช้ยา

เพื่อระงับอาการเจ็บปวด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่บริเวณปลอกหุ้มเอ็นข้อมือเพื่อลดอาการปวดบวม โดยการฉีดยาสเตียรอยด์ภายใน 6 เดือนหลังเริ่มมีอาการ ผู้ป่วยมักมีโอกาสหายดีโดยไม่จำเป็นต้องฉีดยาซ้ำหรือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่น

แหล่งที่มา :
บทความจากโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/3-common-hand-problems-in-office-workers

บทความจากเว็บไซต์พบแพทย์ เรื่องข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้
https://www.pobpad.com/เอ็นข้อมืออักเสบ